กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายและประเภทของ Domain name

โดเมนเนม ( Domain Name) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจเจ้าโดเมนเนมที่แท้จริง เราจะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อนเริ่มตั้งแต่คำว่า WWW หรือ World Wide Web หรือ Web หรือ W3 ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใครๆเข้ามาสึกษาค้นหาข้อมูลหรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด WWW ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วๆ ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นประมาณ Electronic Library หรือ e-library นั่นเอง และที่สำคัญคือ ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว ดังนั้นถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่นๆ ให้อีกหาอยู่ที่ e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ
ฉะนั้น โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ส่วนประกอบของโดเมนเนม โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน ( Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain

ส่วนที่ 1 สับโดเมน ( Sub Domain Name)
สับโดเมนเนม เป็น “ คำ” ที่อยู่ก่อนชื่อโดเมนเนม เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนในเว็บไซต์ ซึ่งปกติแล้วมักใช้เป็น WWW ตัวสับโดเมนนี่เป็นของฟรี ไม่มีสับโดเมนอยู่ในตาต้าเบส (Database) ของโลก ไม่ว่าจะใน Network Solution หรือ Thnic ให้ระวังคนหัวใสไปหลอกขาย โดยบอกว่าจะให้ชื่อ yourcompany. « « « .com อย่างที่เคยเห็นอยู่บ่อยๆ เราอาจจะได้เห็นการสับบ่อยของโดเมนเนมในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ www. « « « .com /yourcompany ซึ่งทั้งสองแบบนี้ คือจะไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังก็จะได้ความหมายเหมือนกัน คือเป็นสับโดเมนย่อยอยู่ภายใต้โดเมนเนม « « « .com ตรงนี้
ในการสร้างสับย่อยๆ ในสับโดเมนเพิ่มขึ้นนั้น ปกติจะไม่ค่อยเสียค่าใช้จ่าย แต่บางครั้งก็อาจจะต้องมีการตั้งค่าหรือเซตอัพบางอย่างที่ยุ่งยากบ้าง ทางบริษัทที่รับทำอาจคิดค่าใช้จ่ายเป็นค้าเซตอัพแทน แต่ก็ไม่แพงมาก อย่างเช่น ถ้าเสียค่าจดโดเมนเนม 1,500 บาท ค่าเซตอัพก็จะประมาณไม่เกิน 1,000 บาท บางบริษัทอาจจะทำให้ฟรี
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์หรือผู้จดทะเบียน แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่าชื่อตรงนี้ต้องไม่ซ้ำกันกับคนอื่นๆ เพราะจะทำให้เครื่องสับสนว่าจะเข้าในเว็บไซต์ไหนแน่ การตั้งชื่อตรงนี้มีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกเพราะจะเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าจะรู้จัก หรือรู้จักสินค้าและบริการของเว็บไซต์คุณ ลองเปรียบเทียบดูว่าถ้าเราต้องการไปเดินซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ถ้าเราไปซื้อตามร้านหนังสือจากความเคยชินเราก็จะเดินไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าเป็นร้าน ดอกหญ้า หรือร้านนายอินทร์ เพราะเรามาเดินบ่อย แต่ถ้าเป็นในโลกของอินเทอร์เน็ต เราจะเดินไปได้เราต้องรู้จัก URL หรือชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการเข้าไปดู ดังนั้นซึ่งเราจะมองไม่เห็นชื่อร้านว่าเป็นร้านดอกหญ้า ซึ่งร้านหนังสือที่ประสบผลสำเร็จในการจำหน่ายหนังสือผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Amazon.com เว็บไซต์ Amazon.com นี่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2538 และเป็นร้านหนังสือรายแรกบนอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันมียอดขายสูงสุดถึงปีละหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว
เว็บไซด์ที่ประสบความสำเร็จในโลกอินเทอร์เน็ตจะต้องมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกได้นั้น เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “ ชื่อ” ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะทำให้ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถจดจำได้ดี หลักการตั้งชื่อที่มีดังนี้
1. ง่ายต่อการจดจำ คือ ต้องเป็นชื่อที่จำง่าย นึกถึงอยู่เสมอ เหมือนกับเวลาจะคุณต้องการทานสุกี้ก็ต้องนึกถึง “MK” เป็นต้น คือพยายามมองโลกให้เหมือนกับคนอื่นๆ ให้มากๆ เข้าไว้ เพราะถ้าเราไปคำนึงถึงคำยากๆ ไม่ค่อยมีใครนึกถึงจะทำให้คนเข้าไปถึงเว็บไซต์ของเราได้น้อย
2. สั้นและกะทัดรัดชัดเจน คือ ชื่อเว็บไซต์ที่สั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการตั้งชื่อบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ ถามยังสำคัญกว่า การตั้งชื่อบนอินเทอร์เน็ตเสียด้วย เพราะถ้าคุณต้องพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไปในคอมพิวเตอร์ ก็เหตุผลที่ว่าทำไมชื่อเว็บควรสั้นๆ และกระชับ ลองมาดูตัวอย่างชื่อเว็บไซต์อย่างเช่น www.ebusinessisbusiness.com อ่านๆ ดูแล้วจำไม่ง่ายเลย ใช้เวลาพิมพ์ในการพิมพ์นานมากมีโอกาสผิด ถ้าสั้นและกระชับแล้ว ชื่อที่ตั้งก็ควรได้ใจความด้วย อย่างเว็บไซต์ เช่น www.mycom.com ก็สั้น กระชับ เพราะจะทำให้คนที่เข้ามาใช้งานสามารถที่จะจดจำชื่อของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
3. สะกดง่ายไม่ซับซ้อน ควรเลือกคำที่ทำให้เกิดการผิดพลาดในการพิมพ์น้อยที่สุด ประเภทที่ต้องมี S หรือไม่มี S หรือมี – หรือ /วุ่นวาย เพราะถ้าไม่ใช่เว็บไซต์ของตัวเอง ไม่ค่อยมีใครมานั่งจำหรอกว่าต้องตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก มีขีดบน ขีดกลางหรือขีดล่าง เขามักจะพิมพ์ชื่อที่นึกขึ้นมาให้ก่อน ถ้าหาไม่เจอก็มักเปลี่ยนไปที่อื่นแทน ไม่สนใจ
4. มีความหมายเข้าใจชัดเจน หมายความว่า คำที่จะนำมาใช้เป็นชื่อต้องสื่อถึงเว็บของเราไว้ว่าจุดมุ่งหมายหลักคืออะไร เช่น เป็นเว็บไซต์สำหรับจำหน่ายสินค้า ก็ควรจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับจำหน่ายสินค้า หรือทำเว็บไซต์ เกี่ยวกับหนังสือหรือใกล้เคียงกันอยู่บ้างเพราะเวลาค้นหา จะได้ค้นหาได้ง่ายๆ
5. ชื่อสะดุดตาง่ายต่อการจดจำ ที่คนรู้จักกันทั่วโลกว่าเช่น www.amazon.com ซึ่งเป็นร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ต หรือ www.google.com เป็นผู้นำในส่วนเว็บไซต์ค้นหาทั้งหมดในโลกและอื่นๆ คุณเห็นอะไรในชื่อเหล่านี้ มันไม่ได้สื่อความหมายอะไรมากมาย แต่เป็นชื่อที่จำง่ายและสะดุดตาคน อ่านหรือได้ยินหรือให้คนอ่านเข้าใจง่าย นี้ก็มักจะทำให้ชื่อเว็บของเราอยู่ในใจของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain
Top Domain จะมีอยู่ 2 ประเภท อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คือ อย่างที่เป็น .co.th กับ แบบที่เป็น .com ซึ่งความจริงไม่ได้จำกัดอยู่แค่นี้ สามารถเป็นแบบอื่นๆ ได้อีก สำหรับตัวอย่างแรกที่เป็น .co.th จะเป็นหลักษณะของการบอกประเภทของเว็บไซต์ของเรา และบอกรหัสประเทศ หรือ Country Code อีก 2 ตัวอักษรซึ่งมีได้หลายแบบ เช่น
. co ย่อมาจาก Commercial เป็นบริษัทหรือองค์กรที่ทำการค้าหวังกำไร
. ac ย่อมาจาก Acdemy เป็นสถาบันการศึกษาต่างๆ
.or ย่อมาจาก Organization เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาโดยไม่หวังผลกำไร
.go ย่อมาจาก Government เป็นหน่วยงานของรัฐบาล
รหัสประเทศ หรือ Country Code ของประเทศต่างๆ ซึ่งยกตัวอย่างมาบางส่วน ดังนี้
.ac ย่อมาจาก Ascension Island
.ad ย่อมาจาก Andora
.ae ย่อมาจาก United Arab Emirates
.af ย่อมาจาก Afghanistan
.ag ย่อมาจาก Antigua and Barbuda
.ai ย่อมาจาก Anguilla
.al ย่อมาจาก Albania
.am ย่อมาจาก Netherlands Antilles
.ao ย่อมาจาก Angola

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก